เจงกีส ข่าน
เจงกีส ข่าน

เจงกีส ข่าน

เจงกีส ข่าน (มองโกเลีย: Чингис Хаан, Chinggis Khaan, Činggis Qaɣan; /ˈɡɛŋɡɪs ˈkɑːn/ หรือ /ˈɛŋɡɪs ˈkɑːn/,[2][3]; อังกฤษ: Genghis Khan; พ.ศ. 1705 หรือ 170818 สิงหาคม พ.ศ. 1770) เจงกีส แปลว่า “เวิ้งสมุทร, มหาสมุทร” (ซึ่งเปรียบได้ว่า เจงกีส ข่าน มีความยิ่งใหญ่ ดั่งเวิ้งมหาสมุทรนั่นเอง) จักรพรรดินักรบชาวมองโกลผู้พิชิต ผู้ก่อตั้งจักรวรรดิมองโกล เดิมมีนามว่า เตมูจิน (Temüjin) ตามสถานที่เกิดริมฝั่งแม่น้ำโอนอน เป็นผู้นำครอบครัวแทนบิดาเมื่ออายุเพียง 13 ปี และต้องดิ้นรนต่อสู้ขับเคี่ยวกับชนเผ่าต่าง ๆ ที่เป็นอริอยู่หลายปี ปราบเผ่า “ไนแมน” ทางด้านตะวันตก พิชิตชนชาติ “ตันกุต” (เซี่ยตะวันตก) และยอมรับการจำนนของชาว “อุยกูร์” ในปี พ.ศ. 1749 เตมูจิน ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น "เจงกีส ข่าน" และจากปี พ.ศ. 1754 ด้วยการรบพุ่งหลายครั้ง เจงกีส ข่าน สามารถยึดครองจีนตอนเหนือ จักรวรรดิคารา-คิไต (Qara Khitai Empire)(เหลียวตะวันตก) จักรวรรดิคาเรสม์ และดินแดนอื่น ๆ อีกหลายแห่ง นับถึงเวลาเมื่อเจงกีส ข่าน สิ้นพระชนม์ จักรวรรดิมองโกลได้แผ่ขยายตั้งแต่ทะเลดำไปจดมหาสมุทรแปซิฟิก โดยทั้งหมดเริ่มที่จีนตอนเหนือ หลังจากยึดจงตู (ปัจจุบันคือกรุงปักกิ่ง) ได้แล้ว เจงกีส ข่าน ได้ส่งทูตไปยังเปอร์เซีย แต่ทางสุลต่านตัดหัวคนที่เขาส่งไป เจงกีส ข่าน สั่งระดมพลไปบุกเปอร์เซีย เมืองทุกเมืองที่ต่อต้านจะถูกปล้นชิงและทำลาย หลังการยึด เจงกีส ข่าน ได้สั่งทหาร 10,000 คนบุกไปทางเหนือ โดยไม่ได้ถูกหยุดเลยจนถึงสุดขอบทะเลยังใกล้เคียงตะวันออกกลางเจงกีสข่านมีชีวิตอยู่ตรงช่วงประมาณ 1 ศตวรรษ ก่อนพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ขึ้นครองราชย์และสถาปนากรุงสุโขทัย พระองค์ได้รับการยกย่องโดยทั่วไปว่าเป็นนักการทหารที่เก่งที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ของโลก นอกจากความสำเร็จในทางการทหารแล้ว เจงกีสข่านยังสร้างระบบอักษรขึ้นใช้ในจักรวรรดิมองโกล โดยดัดแปลงมาจากอักษรอุยกูร์ พระองค์รวบรวมชนเผ่าเร่ร่อนต่าง ๆ ของมองโกลเข้าเป็นชาติเดียวกัน และปกครองโดยถือหลักเปิดกว้างต่อความเชื่อทางศาสนา นอกจากนี้พระองค์ยังมีบทบาทสำคัญในการสร้างความมั่นคงในเส้นทางสายไหม ทำให้โลกมุสลิม เอเชียตะวันออก และยุโรป สามารถค้าขายและติดต่อสื่อสารถึงกันได้ภายหลังเจงกีส ข่าน สิ้นพระชนม์ โอเกได ข่าน พระราชโอรสของเจงกีส ข่านได้นำทัพกลับไปที่ใกล้ตะวันออกกลาง แต่ในขณะที่จะเข้าเวียนนา โอเกได ข่านได้สิ้นพระชนม์ก่อน ทำให้การปะทะกันไม่อาจเกิดขึ้น